วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การสื่อสารในครอบครัว




รูปแบบของการสื่อสาร
1 ผู้กล่าวโทษผู้อื่น / คนช่างติ (Blamer)
- ภายนอกดูเสมือนมีอำนาจ ภายในรู้สึกโดดเดียวไม่ประสบความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ


2 .ผู้ยอมตามผู้อื่น/คนสยบยอม
- ภายนอกเสมือนให้บริการ ภายในไม่มีคุณค่าถ้าไม่ได้ดูแลผู้อื่น
- ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ฉันอยากให้ใครรักฉัน เข้าใจฉัน

3. คนเจ้าเหตุผล
- ภายนอกเสมือนฉลาด ภายในไม่มั่นคง อ่อนแอ
- คุณค่าในตนเอง ต่ำ

4 ผู้ขัดคอคนอื่น / คนพูดไม่เข้าขา
- ภายนอกดูเสมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ภายในไม่มีใครแคร์ ไม่มีใครใส่ใจ มีความเหงา ขาดจุดมุ่งหมาย คุณค่าตนเองต่ำสุด
- บุคคลประเภทนี้ ชอบทำเป็นไม่เข้าใจ ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์


5. คนเข้าใจคน
- ภายนอกสมดล ภายในรู้สึกดี คุณค่าในตนเองสูง
การสื่อสารในครอบครัว 3 ชนิด

ชนิด
ขั้นตอน
ผลที่ได้
1.)การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
1.แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย
2.ถามความรู้สึกนึกคิดของเขา
3.แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง
เพิ่มความผูกพันในชีวิตครอบครัว
2.)การสื่อสารเมื่อมีความขัดแย้งในความคิดหรือความต้องการที่ไม่ตรงกัน
1.บอกความรู้สึกและปัญหา
2. ถึง 4 เช่นเดียวกับชนิดที่1.)
แก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
3.)การสื่อสารเมื่ออีกฝ่ายอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี
1.สะท้อนความรู้สึกของเขาที่เราสังเกตเห็น
ลดความกดดันและกลับมาพูดคุยกันได้ตามปกติ




            การสื่อสารในครอบครัว 
 นายแพทย์ยงยุทธ  วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ได้เสนอไว้ 3 กรณี  ดังนี้
1.) การสื่อสารในชีวิตประจำวันของครอบครัว  ซึ่งถือเป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกคนในครอบครัวควรเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก สรุปเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
          1. แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย ฉันอยากไปทายข้าวนอกบ้าน
          2. ถามความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่าย เธอว่าไง
          3. แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง ขอบคุณ
2.)การสื่อสารเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว  สรุปได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
          1. บอกความรู้สึกและปัญหา ผมรู้สึกไม่สนุกเลยที่พบเพื่อนเก่าของคุณ
          2. แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย ผมขอไม่ไปงานเลี้ยงรุ่นศิษย์เก่าของคุณ
          3. ถามความรู้สึกนึกคิดของเขา คุณว่าไง
          4. แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง ขอบคุณที่คุณไม่ว่าอะไร
3.)การสื่อสารเมื่ออีกฝ่ายโกรธ หรือขับข้องใจ  ในครอบครัวย่อมจะมีบ้างบางครั้งคราวที่พ่อแม่อยู่ในอารมณ์ไม่ดี หรือเมื่อเราสื่อสารดี ๆ กับเขาแล้วเขายังตอบสนองในทางใช้อารมณ์ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลม เป็นตัวการขยายความขัดแย้งให้รุนแรงและทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน  ทางเลือกในสถานการณ์ดังกล่าวนี้มีหลายประการด้วยกัน  พ่อแม่อาจใช้วิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ไปก่อนจนกว่าเขาจะอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น  บางคนอาจใช้อารมณ์ขันเป็นตัวบรรเทาบรรยากาศให้สงบลง หรืออาจใช้การแสดงทางภาษาท่าทาง เช่น จับมือ หรือจับต้นแขน  เพื่อแสดงความเห็นใจหรือปลอบให้เขาสงบ  แต่ทางเลือกที่สำคัญและได้ผลดีอันหนึ่งก็คือ อาศัยทักษะการสื่อสาร ด้วยการสะท้อนความรู้สึกของเขาโดยมีหลักดังนี้
          ทักษะ  สะท้อนความรู้สึกของเขาที่เราสังเกตได้ในขณะนั้น
          วัตถุประสงค์   เพื่อแสดงความเห็นใจและให้เขารู้ว่าเราเข้าใจเขา
          วิธีการ  ดูคุณ...(ความรู้สึกที่เราสังเกตเห็น)  ดูคุณกำลังอารมณ์ไม่ดี เลยนะ
                                                          ดูคุณโกรธที่ผมไม่ไปงานศิษย์เก่ากับคุณ




เทคนิคในการให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
เทคนิคการตั้งคำถามเวียน(Circular questioning)
       การตั้งคำถามเวียนเป็นเทคนิคหรือเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกในครอบครอบครัวได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว  ผู้ให้คำปรึกษาครอบครัวอาจเริ่มต้นด้วยการแสดงความรู้สึกกับเรื่องที่เกิดขึ้น  แล้วให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนได้แสดงความรู้สึกเวียนกันจนครบทุกคน

เทคนิคการมองมุมมองใหม่ (Reframing)
             จุดมุ่งหมายของการสร้างมุมมองใหม่  (Reframing)  ก็คือ  การทำให้เกิดการ
เปลี่ยนการรับรู้ใหม่ในพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว  ด้วยการเคารพในพฤติกรรมและทำให้เกิดการสร้างสรรค์   ส่งผลทางด้านบวกแก่พวกเขาเอง  ผู้ให้คำปรึกษาได้ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวได้เปลี่ยนการรับรู้ใหม่  ผู้ให้คำปรึกษาให้ลดการตำหนิโดยการเน้นเจตนาที่ดี 

เทคนิคเส้นลวดประสบการณ์ (the wire experience)
             จุดประสงค์เพื่อให้บุคลได้มีโอกาสย้อนกลับไปดูประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน 
ช่วงใดช่วงหนึ่ง ที่เกิดความตึงเครียด  หรือช่วยชีวิตที่ผ่านมา  โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์
             เส้นลวดมีคุณสมบัติอ่อน  ยืดหยุ่นได้  ดัดได้ง่าย  คงรูปอยู่ในสภาพที่เราต้องการ
ได้  อาจใช้เส้นลวดที่มีสีแตกต่างกันก็ได้  ตัดให้มีความยาว 9 ฟุตแจกให้คนละ 1  เส้น  ขอร้องให้แต่ละคนมองเส้นลวดของตนเอง  เส้นลวดจะเป็นตัวแทนของช่วงชีวิตแต่ละคน  หรือเป็นตัวแทนช่วงชีวิตทั้งหมดของบุคคลก็ได้  ตัวอย่างเช่น  ช่วง  10 ปีที่ผ่านมา  ช่วงที่เกี่ยวพาราสี  (The  courtship  period)  ช่วงปีกของการแต่งงาน  ช่วงเวลาที่มีลูกคนแรก  หรือช่วงอื่น ๆ  อย่างไรก็ตามทำให้เราได้เห็นความแตกต่างของประสบการณ์ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา หลังจากทำเสร็จแล้ว  ขอร้องให้แต่ละคนได้แชร์คำตอบ  หรือเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงชีวิตของตนเองที่เลือกสรรมาแล้ว  อธิบายหรือพรรณนาส่วนที่โค้งงอ  บิดเป็นเกลียว

เทคนิคเชือกความสัมพันธ์(Ropes)
             เชือกจะถูกใช้เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  เป็นเทคนิคที่ดีที่จะแสดง
ให้เห็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในระบบครอบครัว  สมาชิกในครอบครัวจะได้รับเชือกเส้นสั้น ๆ     ผูกไว้ที่เอวของแต่ละคน  เชือกเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ที่ถ่ายทอดไปยังสมาชิกภายในครอบครัว  จนกระทั่งแต่ละคนมีเชือกเพิ่มมากขึ้นราวกับว่ามีสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น            หรือแม้แต่ปลายสุดของเส้นเชือกจะผูกไปยังสมาชิกครอบครัวอื่นก็ได้  สมาชิกของครอบครัวก็จะรู้ว่าเขาจะติดต่อสัมพันธ์กันอย่างไร  และความตึงเครียดจะเกิดขึ้นที่เส้นเชือกอย่างไร  ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ  เป็นเสมือนตัวอย่างที่ทำให้ระบบของครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
             เป้าหมายของเทคนิคนี้  เพื่อต้องการให้สมาชิกของครอบครัวได้เห็นการมีส่วนร่วม 
สังเกตความสำคัญของการใช้เชือกอย่างสมเหตุสมผล  มิฉะนั้นมันจะทำให้ติดพันกันยุ่งยากกันอย่างมาก  หรือตึงกันเกินไป  บางครั้งสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจได้  ถึงความต้องการอิสระในความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  แต่เชือกที่ผูกติดกันตึง  ผูกติดกันอย่างเหนี่ยวแน่นและสับสน  เชือกจึงสามารถเอามาใช้แสดงให้เห็นความรู้สึกมีส่วนร่วมของชีวิตในครอบครัว  คำตอบที่สมาชิกของครอบครัวได้รับจะเกิดการเรียนรู้จะผ่อนคลายความตึงของเชือก  สามารถเรียนรู้ผ่านไปยังความจริงในชีวิตได้
              เชือกสามารถใช้แสดง  อุปมาหรืออธิบายถึงรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์  ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือสัมพันธภาพ  เมื่อความต้องการของครอบครัวได้ถูกหยิบยกขึ้นมา  สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะมีส่วนช่วยกันอย่างไร  ที่จะทำให้ความตึงเครียดในครอบครัวที่เกิดขึ้น จะถูกเปลี่ยนรูปนำไปสู่การผ่อนคลายที่ดีขึ้น 

เทคนิคการวาดภาพครอบครัว(Family Drawings)
               เทคนิคในการวาดภาพครอบครัวมี  3  ลักษณะ  ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำปรึกษาจะเลือกใช้ลักษณะแรกเป็นการรวมภาพวาดอย่างง่ายของครอบครัว  (join  family  scribble)  วิธีนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะให้สมาชิกครอบครัวแต่ละคนวาดภาพอย่างง่าย ๆ หวัด ๆ เกี่ยวกับครอบครัว  จากนั้นก็เอาภาพวาดของแต่ละคนมาเสนอรวมกันเป็นภาพรวมของครอบครัว  ในกระบวนการนี้สมาชิก    ได้ประสบการณ์และเรียนรู้ที่จะทำงานของตัวเองและทำงานร่วมกันฉันท์ครอบครัว  แล้วนำเอาประสบการณ์และความรู้สึกดังกล่าวมาอภิปรายร่วมกัน  ลักษณะที่สอง  เป็นการให้สมาชิกครอบครัววาดภาพสิ่งที่เขาหรือเธอ รับรู้เกี่ยวกับตัวเองในครอบครัว  แล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน  (conjoint  family  drawing)  การวาดภาพลักษณะนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะเป็นผู้สั่งให้สมาชิกแต่ละคนวาดภาพตามการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในครอบครัว ตัวอย่างเช่น น้องชายคนเล็กอาจจะรับว่าพี่ชายคนโตใกล้ชิดกับพ่อแม่มากกว่าตัวเขา  ภาพวาดของเขาก็จะสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของความใกล้ชิดกับพ่อแม่ระหว่างเขากับพี่ชายของเขา  ลักษณะที่สาม  เป็นการวาดภาพโดยการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างในครอบครัว  (symbolic  drawing  of  family  life  space) การวาดภาพแบบนี้มีลักษณะเป็นเทคนิคการฉายภาพ  (projective  technique)  อย่างหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาจะวาดวงกลมใหญ่วงกลมหนึ่ง  แล้วบอกให้สมาชิกครอบครัววาดทุกอย่างที่เป็นตัวแทนของครอบครัวเอาไว้ในวงกลมนั้น  สำหรับบุคคลและสิ่งอื่น ๆ   ที่ไม่เป็นตัวแทนของครอบครัวหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้วาดเอาไว้นอกวงกลม  ในกิจกรรมนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะขอให้ครอบครัววาดภาพสมาชิกของครอบครัวในวงกลมใหญ่  และวางตำแหน่งความใกล้ชิดและความห่างไกลตามที่ครอบครัวรับรู้  หลังจากวาดเสร็จผู้ให้คำปรึกษาก็ให้ครอบครัวอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภาพนั้น
จะเห็นได้ว่าการวาดภาพทั้ง  3  ลักษณะ เมื่อวาดภาพเสร็จแล้วจะต้องตามมาด้วย
การอภิปรายว่า  ครอบครัววาดอะไรลงไปเป็นภาพและทำไมจึงวาดภาพนั้น  ระยะห่างและระยะใกล้ชิดระหว่างบุคคล  และหรือวัตถุมีความหมายอย่างไร  จุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะให้ครอบครัวได้สำเร็จพลวัต  (dynamics)  ของชีวิตครอบครัวจากการรับรู้ของสมาชิกแต่ละคน  และจากครอบครัวโดยส่วนรวม  (เมธินินทร์  ภิณญูชน.  2539 : 105 106)

เทคนิคปฏิมากรรม(Sculping)
เทคนิคการประติมากรรม  (Sculpting)  คือ   การให้สมาชิกครอบครัวแสดงท่าทาง
ต่าง ๆ  เพื่อแสดงลักษณะของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัวตามการรับรู้ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่า  สมาชิกทุกคนทำตัวเองราวกับดินเหนียวที่ใช้ในการปั้นสิ่งต่าง ๆ   เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ได้รับบทบาทให้เป็นผู้ปั้นหรือปฏิมากร  (sculptor) ทำหน้าที่ปั้นแต่งท่าทางของคนอื่น ๆ  ตามการรับรู้ของผู้นั้น  ในกระบวนการนี้  เหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตและรูปแบบของพฤติกรรมต่าง ๆ   ที่กระทบต่อครอบครัวจะถูกนำมาปั้นเพื่อให้สามารถรับรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่นในครอบครัวซึ่งพ่อติดรายการโทรทัศน์มากและไม่ให้ความเอาใจใส่ต่อลูกชายเลยซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอดีต  แต่ลูกชายซึ่งขณะนี้โตแล้วและจำได้ว่าตัวเองไม่ได้รับการเอาใจใส่  รู้สึกถูกทอดทิ้งอาจจะจัดรูปปั้นออกมาดังนี้  พ่ออาจถูกจัดให้นั่งใกล้กับวัตถุอะไร   สักอย่างซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโทรทัศน์  แล้วลูกชายคนนี้ แยกไปนั่งห่างออกไปอยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง  เมื่อปั้นเสร็จแล้วจะได้ภาพนิ่งจำลอง  (Still  life portrait) ภาพนิ่งจำลองนี้จะช่วยให้สมาชิกครอบครัวและผู้ให้คำปรึกษาเห็นภาพที่ชัดเจน  ของความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  การใช้เทคนิคประติมากรรมต้องอาศัยขั้นตอน  4  ขั้นตอน  และบทบาทประกอบดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->          การเลือก  เหตุการณ์หรือฉากที่จะเสนอ  ผู้ให้คำปรึกษาจะช่วยสมาชิกครอบครัว
ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปั้นในการเลือกเหตุการณ์หรือฉากการเลือกตัวละคร  (role  players)  เพื่อแสดง  การสร้างงานประติมากรรมซึ่งผู้ปั้นจะทำหน้าที่ในการจัดสมาชิกแต่ละคนวาง
ตำแหน่งเฉพาะที่มีความหมาย หลังจากปั้นภาพที่จำลองเสร็จแล้ว  ทั้งผู้ปั้นและสมาชิกคนอื่น ๆ ออกจากบทบาทที่ถูกปั้นนั้น  แล้วมาร่วมกันอภิปรายถึงประสบการณ์  ความรู้สึก แ ละการหยั่งรู้  (insight)  ที่เกิดขึ้นจากการร่วมกิจกรรมประติมากรรมนั้น(เมธินินทร์  ภิณญูชน.  2539 : 104 105)

คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว

          คุณสมบัติที่พึงประสงค์
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->มีความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มและรายบุคคล
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->ผ่านการอบรมการให้คำปรึกษาเบื้องต้นหรือการบำบัดเบื้องต้น
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->มีประสบการณ์ ใการบำบัดครอบครัว หรือการให้คำปรึกษาครอบครัวอย่างน้อย 1 ปี
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นนักบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->5.1   <!--[endif]-->มีความเป็นมิตร มีสัมพันธภาพอันอบอุ่นกับผู้รับการบำบัด
<!--[if !supportLists]-->5.2   <!--[endif]-->มีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง เป็นที่น่าไว้วางใจ
<!--[if !supportLists]-->5.3   <!--[endif]-->ยอมรับผู้รับการบำบัดโดยปราศจากเงื่อนไข
<!--[if !supportLists]-->5.4   <!--[endif]-->รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.5   <!--[endif]-->มีความเข้าใจ และเห็นใจผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.6   <!--[endif]-->ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.7   <!--[endif]-->มีความสุขุมและมีความมั่นคงทางจิตใจ
<!--[if !supportLists]-->5.8   <!--[endif]-->มีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว ใจกว้าง เปิดตนเองให้กับประสบการณ์ใหม่ ๆ
<!--[if !supportLists]-->5.9   <!--[endif]-->มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือและบริการ
5.10 มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ
5.11 มีความมั่นใจในตนเอง
5.12 สามารถรักษาความลับได้
5.13 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->มีความรู้เกี่ยวกับ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->มีความรู้เกี่ยวกับ กหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสิทธิผู้ป่วยกฏหมายวิชาชีพ


บทบาทหน้าที่ของผู้ไห้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว


   ผู้ให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัวต้อง
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->สามารถสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นมิตร ที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่ง
กันและกันระหว่างผู้รับการบำบัดและนักบำบัด
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->สามารถสื่อให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจวัตถุประสงค์ของการบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->ช่วยให้ผู้รับการบำบัดมีความเข้าใจตนเองและบริบทแวดล้อม
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->สนับสนุน ให้กำลังใจ เอื้ออำนวยความสะดวก ที่จะช่วยให้ผู้รับการบำบัด พยายามแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ตลอดจน สามารถ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตนเองและปรับตัวได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->ให้กำลังใจผู้รับการบำบัดในการแก้ปัญหา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง ตลอดทั้ง วางแผนเพื่ออนาคต
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->สามารถประสานงานกับบุคลากรในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของผู้รับการบำบัด
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->ติดตามผลและประเมินผลของการให้บริการการบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->8.      <!--[endif]-->พัฒนายุทธวิธีในการบำบัดครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น





แหล่งอ้างอิง : เอกสารประกอบการบรรยาย:การให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
                           ดร.เพ็ญนภา  กุลนภาดล   ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา






ผู้รวบรวม คิงครีม อาย ออม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น