วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว :หลักการ แนวคิด และ ทฤษฏี



           การให้คำปรึกษา  คือ การช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้  ด้วยการใช้เทคนิคต่าง  ของการสร้างความสัมพันธ์  การสื่อสาร  ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา  ประกอบด้วย  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี   การสำรวจปัญหา และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน  การประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ  การแก้ปัญหากระตุ้นให้มองหาทางเลือก  ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ และการให้ตัดสินใจ การทดลองปฏิบัติ และติดตามผลด้วยตนเอง ก่อนจะยุติการช่วยเหลือ
           การให้คำปรึกษาเป็นวิธีการที่เน้นให้ผู้รับคำปรึกษาพิจารณาตนเองอย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และกระตุ้นให้สังคมยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งจุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาอาจจะมีแตกต่างออกไป แต่ประการสำคัญที่ยอมรับร่วมกันคือ การช่วยให้บุคคลเข้าใจบทบาทของตนเอง และดำเนินบทบาทของตนอย่างประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น (The American Psychological Association. 2008) นอกจากนี้การปรึกษายังเป็นกระบวนการที่แสดงถึง มนุษยสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่างบุคคล โดยบุคคลหนึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและอีกบุคคลหนึ่ง คือผู้มาขอคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาจึงเป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษา มีประสบการณ์ความรู้  ความ สามารถในทางการให้คำปรึกษาและทางจิตวิทยา สามารถให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษา เพื่อให้บุคคลที่มารับคำปรึกษาเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวที่นำมาปรึกษาสามารถใช้พลังปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจตกลงที่จะเลือกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในวิถีทางที่เหมาะสมที่ปรารถนา และในที่สุดบุคคลที่มาขอรับคำปรึกษาจะสามารถป้องกันปัญหาแก้ปัญหา และพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมที่สุด
การให้คำปรึกษาครอบครัว  (family  counseling)  หมายถึง  กระบวนการให้ความช่วยเหลือครอบครัวทั้งครอบครัวไม่เฉพาะสมาชิกคนใดคนหนึ่งที่ถูกกล่าวว่ามีพฤติกรรมที่มีปัญหาเพราะถือว่าครอบครัวเป็นระบบ ๆ  หนึ่ง  ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบครอบครัวจึงเป็นของส่วนรวมและเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในครอบครัวที่จะต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไข  โดยความช่วยเหลือของผู้ให้คำปรึกษาที่มีคุณสมบัติส่วนตัวและวิชาชีพที่เหมาะสม  เพื่อที่จะให้ครอบครัว   อยู่ในสภาวะที่สมดุลย์  และทำหน้าที่ของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ  อันเป็นแนวทางที่จะพัฒนาสมาชิกในครอบครัวให้มีความเป็นตัวของตัวเอง  สามารถสื่อสารได้ดี  และสามารถสร้าง สัมพันธภาพและปรับตัวได้ดีทั้งในครอบครัวและสังคมภายนอก  (เมธินินทร์  ภิณญูชน.  2539 : 21)

การให้คำปรึกษาครอบครัวจึงเป็นการรวมเอาบุคคลที่มีความผูกพันกัน  ในฐานะเป็นครอบครัวเข้ามาร่วมด้วย  เป็นการให้คำปรึกษาทั้งครอบครัวไม่ใช่ผู้ที่ถูกระบุว่ามีปัญหา  ครอบครัวในที่นี้หมายถึง    บุคคลที่มีความใกล้ชิดซึ่งได้แก่    พ่อแม่  สามี  หรือภรรยา ลูก  ญาติพี่น้อง       และอาจรวมถึงเพื่อนฝูงด้วย  การให้คำปรึกษาครอบครัวไม่ได้เป็นเพียงการนำคนทั้งครอบครัวมานั่งพร้อมกันและให้ความช่วยเหลือโดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ  เท่านั้น  แต่การให้คำปรึกษาครอบครัวเป็นแนวความคิดที่พัฒนามาอย่างเป็นระบบ  ทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ ๆ  เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์  เป็นแนวคิดที่แตกต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองว่า  ปัญหาอยู่ที่ภายในตัวบุคคลและต้องแก้ไขเฉพาะบุคคล  การให้คำปรึกษาครอบครัวมองว่า  ปัญหาอยู่ที่ภายนอกตัวบุคคล  คือ  ที่บริบท  (context)  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่แวดล้อมบุคคล  และบริบทที่สำคัญที่สุดของบุคคล คือครอบครัว  ดังนั้นการนำครอบครัวมาร่วมในการให้คำปรึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
เป้าหมายของการให้คำปรึกษาครอบครัว  คือการสร้างบริบทแห่งครอบครัวขึ้นใหม่ให้มีกฎ  โครงสร้าง  และระบบความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกว่าเดิม  ผู้ให้คำปรึกษาไม่ได้มุ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะผู้ที่ถูกระบุว่ามีปัญหา  แต่จะช่วยให้ทั้งครอบครัวทำหน้าที่ได้ดีกว่าเดิม  เป้าหมายเหล่านี้จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ  มีการช่วยเหลือให้ครอบครัวเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ  ในด้านการสื่อสาร  การแก้ไขความขัดแย้ง  การแก้ไขการปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวเอง  และกับระบบภายนอก  เช่น  เครือญาติ  เพื่อนฝูง  และที่ทำงาน  เป็นต้น


ความสำคัญของการให้คำปรึกษาครอบครัว
ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมแรกของบุคคลประสบการณ์และความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด  การมองโลก  การมองตนเอง  และการพัฒนาบุคลิกภาพ  ตลอดจนการกำหนดคุณภาพความสัมพันธ์ที่บุคคลจะมีกับผู้อื่นในอนาคตอีกด้วย  นอกจากบุคคลจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของครอบครัวแล้ว  ตัวบุคคลเองก็มีอิทธิพลต่อครอบครัวด้วยในขณะเดียวกัน  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นความสัมพันธ์สองทาง  มีการโต้ตอบกันไปมา  (reciprocal  relationship)
เมื่อบุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  การแก้ไขที่บุคคลเพียงอย่างเดียว  อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร  เพราะไม่ได้คำนึงถึงบริบททั้งหมดที่เขาใช้ชีวิตอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัว  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้คำปรึกษาครอบครัว  เนื่องจาก
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->พฤติกรรมที่เป็นปัญหา  ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองตามลำพัง  แต่เกิดขึ้นมาในบริบท
โดยเฉพาะครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->บริบทเป็นตัวกำหนดว่า  พฤติกรรมจะเป็นเช่นไร  และเป็นตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
รวมทั้งทำให้พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดหรือดำเนินอยู่ต่อไปก็ได้
ผู้ให้คำปรึกษาสามารถเข้าใจปัญหาของผู้รับบริการได้ดียิ่งขึ้น  ถ้าสามารถมองภาพรวมคือ  มองความสัมพันธ์ที่มีกับครอบครัวและให้ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญของการให้คำปรึกษา  การให้คำปรึกษาจึงไม่เพียงแต่ให้ผู้รับบริการเล่าเรื่องราวที่เกิดจากความคิด ความรู้สึกของตนเพียงฝ่ายเดียว  แต่จำเป็นต้องได้ยินเรื่องราวจากสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ พร้อมทั้งสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่เกิดขึ้นด้วย  โดยการพบทั้งครอบครัวนั่นเอง  จึงถือว่าสมาชิกทุกคนมีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหาร่วมกัน  ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนใดคนหนึ่ง  ไม่มีใครถูกตำหนิว่าเป็นผู้ก่อปัญหาขึ้น  เพราะการมองปัญหาไม่ได้มองในลักษณะเหตุผล  แต่มองในลักษณะวงจรที่มีการโต้ตอบกันไปมา  (feedback  loop)  ผู้รับบริการและครอบครัวต่างก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาด้วยกันทั้งสองฝ่าย  การให้คำปรึกษาครอบครัว  เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับบุคคลและครอบครัวคู่ขนานกันไป  ให้คำปรึกษาร่วมกัน  (parallel  approach)  ช่วยเหลือทุกคนไปพร้อม ๆ  กัน  ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง  ทุกคนมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือ  เป็นการช่วยเหลือบุคคลในบริบท  ไมใช่ดึงออกมาจากบริบท  และให้คำปรึกษาแต่เพียงลำพัง  เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการให้คำปรึกษาในสถานการณ์สมมุติ  ในชีวิตจริงบุคคลไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง  แต่อยู่ในบริบท  และบริบทที่สำคัญก็คือครอบครัว  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  เป้าหมายของการให้คำปรึกษาจึงอยู่ที่ครอบครัวเป็นหลัก  ผู้ให้คำปรึกษา  จะต้องวิเคราะห์ว่า  ในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ใดบ้างที่ไม่เหมาะสม  และจะให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีการใดเพื่อให้ครอบครัวทำหน้าที่ได้ดีขึ้น  ทั้งนี้ถือว่าเมื่อครอบครัวทำหน้าที่ได้ดี  ปัญหาของผู้ที่ถูกระบุว่ามีปัญหาก็จะดีขึ้นด้วย
แนวคิดพื้นฐานของการให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว       
            การให้คำปรึกษาครอบครัวมีแนวคิดพื้นฐานอยู่บนทฤษฎีระบบ  ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->เน้นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายนอกจิตใจมากกว่าภายในจิตใจ  เพราะปัญหาต่าง ๆ
เกิดขึ้นในบริบท  จะต้องวิเคราะห์บริบทร่วมไปด้วยในการให้ความช่วยเหลือ
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->เพ่งเล็งที่ระบบทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะหน่วยย่อยบางหน่วย  มองความสัมพันธ์ระหว่าง
หน่วยย่อยในระบบ  มองและช่วยเหลือบุคคลร่วมไปกับครอบครัวด้วย
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->มองปัญหาแบบวงจรไม่ใช่มองแบบเส้นตรง
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->สนใจว่าปัญหาดำเนินอยู่ได้อย่างไรและมีบทบาทอย่างไรในครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->มุ่งที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่าความเข้าใจตนเอง

ลักษณะอย่างไรบ้างที่ไม่ใช่การให้คำปรึกษา (Patterson. 1970 : 108) มีดังต่อไปนี้
              1. ไม่ใช่การให้ข้อมูล แต่ในการให้คำปรึกษาก็อาจจะมีการให้ข้อมูลบ้าง
              2. ไม่ใช่การให้คำแนะนำ เสนอแนะ หรือข้อควรปฏิบัติแก่ผู้มีปัญหา
              3. ไม่ใช้วิธีการชักชวน นำทาง หรือสร้างความแน่ใจ เพื่อให้มีอิทธิพลเหนือเจตคติ ความเชื่อ  หรือพฤติกรรมของผู้มีปัญหา
             4. ไม่ใช่วิธีการตักเตือน สั่งสอน ขู่เข็ญ บังคับด้วยวาจา เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม
             5. ไม่ใช่การสัมภาษณ์ ถึงแม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์ก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน


เป้าหมายของการให้คำปรึกษา
               เป้าหมายการให้คำปรึกษามี 5 เป้าหมาย (George & Cristiani. 1995 : 6)  คือ
                1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
                2. ปรับปรุงความสามารถของผู้รับคำปรึกษาในการสร้างสัมพันธภาพหลัก
                3. เสริมสร้างประสิทธิภาพของผู้รับคำปรึกษาในการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการเผชิญปัญหา
                4. มีการปรับปรุงกระบวนการการตัดสินใจของผู้รับคำปรึกษา
                5. ส่งเสริมศักยภาพและการพัฒนาผู้รับคำปรึกษา
               สรุปแล้ว เป้าหมายของทฤษฎีการให้คำปรึกษาคือ ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเป็นตัว้ของตัวเอง รู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพความจริง มีความรับผิดชอบตัวเอง มีความคิดอย่างมีเหตุผลตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตนเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง พัฒนาตนเองเต็มความสามารถ

หลักการที่สำคัญในการให้คำปรึกษา
              เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีเทคนิควิธีในการเข้าใจ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การช่วยเหลือ การวางแผน การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในตัวผู้รับคำปรึกษา ดังนั้นในการให้คำปรึกษาจึงจำเป็นต้องมีหลักการที่สำคัญ (สวัสดิ์ บรรเทิงสุข .2542) ดังนี้
             1. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
             2. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความชำนาญงานมาก่อน
             3. การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถพิจารณาตนเองได้ดีเช่นเดียวกับความสามารถในการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของตน จนเกิดการตัดสินใจได้ในที่สุด
             4. การให้คำปรึกษา ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
             5. การให้คำปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป (Art) เป็นทั้งงานวิชาการ และ
วิชาชีพที่ต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญมากกว่าการใช้สามัญสำนึก
             6. การให้คำปรึกษา เป็นความร่วมมืออันดีสำหรับผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา
ในอันที่จะช่วยกันค้นหาปัญหาหรือทางออกที่เหมาะสมแท้จริง ทั้งนี้โดยที่ต่างฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจมาก่อนว่าแท้ที่จริงแล้วความยากลำบากหรือปัญหาของสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งแตกต่างไปจากการสอนซึ่งผู้สอนรู้ข้อเท็จจริงมาก่อนหน้านี้แล้ว
            7. การให้คำปรึกษาเน้นถึงจรรยาบรรณ และบรรยากาศที่ปกปิดหรือความเป็นส่วนตัว
เพื่อสนับสนุนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับช่วยเหลือและรักษาผลประโยชน์ของผู้รับคำปรึกษาเป็นสำคัญ
            8. การให้คำปรึกษาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา มีระดับสูงมากพอที่ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจที่จะเปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงของตน โดยไม่ปกปิดหรือซ่อนเร้น

กระบวนการในการให้คำปรึกษา
           กระบวนการในการให้คำปรึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ 5 ขั้นตอนคือ
               ขั้น 1 เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Attenting)
               ขั้น 2 การสำรวจปัญหา (Exploration)
               ขั้น 3 ทำความเข้าใจปัญหา (Understanding)
               ขั้น 4 ตั้งเป้าหมายและดำเนินการแก้ปัญหา (Action)
               ขั้น 5 ยุติการให้คำปรึกษา (Termination)
มีรายละเอียดดังนี้
               1. ขั้นเริ่มต้นการให้คำปรึกษา เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา การสร้างความสัมพันธ์ในขั้นเริ่มต้นจะมีผลต่อขั้นต่อๆ ไป ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกสบายใจ อบอุ่นใจ อันจะนำมาซึ่งการยอมรับและความไว้วางใจ
               2. ขั้นสำรวจปัญหา เป็นขั้นต่อเนื่องจากการที่ผู้รับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกอบอุ่นไว้วางใจ และพร้อมที่จะเปิดเผยตัวเองเพื่อให้ผู้ให้คำปรึกษาได้เรียนรู้โลกส่วนตัว ความคับข้องใจ ความคาดหวัง ความต้องการ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้รับคำปรึกษา และจะได้สำรวจว่าอะไรคือปัญหาที่สำคัญที่ผู้รับคำปรึกษากำลังเผชิญอยู่ในระดับที่ลึกซึ้ง
               3. ขั้นทำความเข้าใจปัญหา เป็นขั้นตอนที่ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องใช้ทักษะหลายด้าน
หลายแบบ เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจและตระหนักรู้ตนเองว่าตนเองมีส่วนอย่างไรในการทำให้เกิดปัญหา มีอะไรที่ทำให้ปัญหายังคงอยู่ และพร้อมที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา
              4. ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นนี้ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาตั้งเป้าหมายใน
การแก้ไขปัญหา และร่วมกันพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม และวางแผนการปฏิบัติตนเพื่อแก้ปัญหาซึ่งผู้ให้คำปรึกษาจะทำหน้าที่ส่งเสริม และให้กำลังใจเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษา สามารถแก้ไขปัญหาได้และสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
             5. ขั้นยุติการให้คำปรึกษา เป็นขั้นที่มีความสำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นเริ่มต้นการให้คำปรึกษา เพราะเป็นขั้นยุติความสัมพันธ์ ผู้ให้คำปรึกษาจึงควรมีบทบาทที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจกระบวนการและสามารถทำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการให้คำปรึกษาไปพัฒนาตนเองได้ตามลำพัง


 การให้คำปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีซะเทีย
(Satir  Family  Therapy)

เวอร์จิเนีย  ซะเทีย  (Virginia  Satir)
            ซะเทีย  เป็นครู  นำข้อดีของทฤษฎีต่าง ๆ  มาผสมผสาน  นอกจากสนใจระบบและโครงสร้างของครอบครัวแล้ว  เธอหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาส่วนบุคล  ใช้กิจกรรมเป็นเทคนิคในการบำบัดรักษา  มุ่งเน้นให้สมาชิกแต่ละคนเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน  เพิ่มคุณค่า     
เพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง  เธอพบความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจกับการสื่อสาร  เธอให้ความสำคัญกับครอบครัว  อิทธิพลของการเลี้ยงดู  กระบวนการสื่อสารและผลของความเครียด


แนวคิดที่สำคัญ
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->3  บุคคลแรกในชีวิต  (The  Primary  Triad)
การรับรู้โลกครั้งแรกเกิดขึ้นในครอบครัว  กลายเป็นโลกส่วนหนึ่งที่มาจาก  
Primary  Triad :  พ่อ  แม่  และลูก  กลายเป็นเครื่องมือแรกในระบบครอบครัว  และมีอิทธิพลมากต่อระบบครอบครัว
พ่อแม่ได้สอนให้รู้ถึงกฎระเบียบของการกระทำ  ลูกได้เรียนรู้กฎ  ระเบียบของ  
ครอบครัว  เกี่ยวกับความปลอดภัย,  เกี่ยวกับร่างกายของลูก,  ความรักที่ได้รับ  และมีความรัก       พ่อแม่คาดหวังและพูดเสมอว่าลูกควรทำอย่างไร  แสดงการยอมรับ  หรืออาจลงโทษ  ลักษณะเฉพาะของลูกจะมีผลมาจาก  Primary  Triad  การเห็นคุณค่าในตนเอง  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอันดับแรกของการพัฒนา
ลูกจะได้เรียนรู้จากสิ่งใหม่ที่จะเข้ามาในชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์,  ความ
เจ็บปวด, รวมทั้งความไม่เห็นด้วย  และในที่สุด  กฎระเบียบที่ได้รับการยอมรับในครอบครัว  ก็จะกลายเป็นคุณค่า  การอบรมสั่งสอน  และหลาย ๆ สิ่งก็จะหล่อหลอมให้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในความเป็นมนุษย์ 


<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->วงกลมที่มีระดับชั้น  (The  Mandala : SELF)
Mandala  เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ซะเทียได้แสดงให้เห็นส่วนประกอบภายในและภายนอก 
มีผลต่อการกระทำของบุคคล  พฤติกรรม  ความคิดและสภาพร่างกาย  ปกติมันไม่แสดงให้เห็น     แต่เป็นความรู้สึกของตนเอง  หรือตนเองรับรู้ได้
ความสมบูรณ์ของแต่ละบุคคล  ความต้องการรับรู้ ได้พิจารณาและได้สำรวจ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรารับรู้สิ่งที่ยากลำบาก  หรือสถานการณ์ที่ต้องบังคับให้เลือกในเวลาใดเวลาหนึ่ง  เราจะเห็นได้ชัดในส่วนของภายนอก  ส่วนภายในหรือภูมิหลังเราอาจละเลย  หรือมองข้าม
Mandala  ของตนเอง  ในขณะที่เรามีความคิดที่แตกต่าง  ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตทั้ง
ภายในและภายนอก  เราจะพยายามปรับศูนย์กลาง  ซึ่งเป็นศูนย์กลางในวงกลมของเรา  ให้เราเฝ้าสังเกตตนเอง 
โครงสร้างของ  Mandala เปลี่ยนแปลงได้  มีการเพิ่ม  หรือลบวงกลมบางวง 
Mandala ทำให้เราเห็นชีวิตของตนเอง  ซึ่งมี  8 องค์ประกอบ  ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->ร่างกาย  (Physical)
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->สติปัญญา  (Intellectual)
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->อารมณ์  (Emotional)
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->กระตุ้นความรู้สึก (Sensual)
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->การปฏิสัมพันธ์  (Interaction)
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->ที่เกี่ยวกับโภชนาการ  (Nutritional)
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม  (Contextual)
<!--[if !supportLists]-->8.      <!--[endif]-->จิตวิญญาณ (Spiritual)

พ่อ

แม่

ลูก
<!--[if !vml]-->
วงที่  1  เป็นส่วนของร่างกายและระบบภายในร่างกาย  ไม่ว่าจะเป็นกระดูก 
กล้ามเนื้อ  อวัยวะภายใน  การหายใจหรือเกี่ยวกับระบบหมุนเวียน  เป็นความแตกต่างทั้งหมดของระบบที่ไปด้วยกัน  เป็นการทำงานที่สวยงามและมีค่ามากของร่างกายและระบบภายใน  ถ้าเราสามารถเข้าใจแต่ละส่วนของร่างกาย  จะเป็นข้อมูลที่เราจะนำไปประยุกต์ใช้ได้  เมื่อเหนื่อย            หิว  เครียด  หรือมีสัญญาณบางอย่างเตือนให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ
วงที่  2 เป็นส่วนของเชาวน์ปัญญา  เป็นส่วนของการรับรู้จากสมอง  บอกให้เรา
ทราบเกี่ยวกับข้อมูลภายใน  ที่เรามีความคิดและให้ความหมายแก่สิ่งนั้น  เราควรจะได้รับรู้ถึงความดีเลิศในการเรียนรู้ของสมองของเรา
วงที่  3  จะบอกถึงอารมณ์ของเรา  ความรู้สึกของเรา  เราสามารถจำได้และรับรู้
ได้  ความรู้สึกของเรา เราสามารถควบคุมได้อย่างไร  เราสามารถส่งต่อไปอย่างไร   ความรู้สึกจะแสดงอุณหภูมิในปัจจุบัน  ความรู้สึกจะบอกหรือแสดงความมีคุณค่าในตัวเอง
วงที่  4  แสดงให้เห็นประสาทสัมผัสทั้ง  5  ของเรา  เป็นเงื่อนไขของอวัยวะ
ภายใน  เป็นอิสระที่จะทำให้เราได้เห็น  ได้ฟัง  ได้สัมผัส  ได้รสชาติ  ได้กลิ่น  ซึ่งบรรจุภายในตัวเราอย่างสวยงาม
วงที่  5  แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในโลก  เรามีปฏิสัมพันธ์เป็นธรรมชาติ
หรือไม่  เราจะประเมินคุณภาพของความสัมพันธ์ได้อย่างไร  เราได้พัฒนาจนกลมกลืนด้วยตัวเราเองหรือด้วยผู้อื่น  เป็นเรื่องของสมาชิกในครอบครัว  ทำให้เราสนุก  ตลก  มีอารมณ์ขัน  ผู้อื่นมีชีวิตชีวาและมีความสุข
วงที่  6  เกี่ยวกับโภชนาการ  การกินและการดื่มเข้าไปในร่างกาย ท่านเข้าใจความ
ต้องการของร่างกายของท่านหรือไม่  ปัจจุบันมีงานวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกิน  การดื่มและความรู้สึกและการกระทำ
วงที่  7  เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  การได้เห็น  ได้ฟัง  สัมผัส  อุณหภูมิ  แสงสว่าง  สี 
คุณภาพอากาศ  ช่องว่างในชีวิต  และงาน  แต่ละส่วนมีความสำคัญในชีวิต
วงที่  8  เกี่ยวกับจิตวิญญาณ  เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ในชีวิตของเรา  เราได้
ใช้จิตวิญญาณสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ในแต่ละส่วน  แสดงให้เห็นความแตกต่างของภาระหน้าที่  อย่างไรก็ตามในตัวเรา 
ไม่มีส่วนไหนที่ทำหน้าที่ด้วยตัวมันเอง  ทุกส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อีกทางหนึ่งสามารถพูดได้ว่า  บางส่วนมีผลต่อส่วนอื่นทั้งหมด  ภาพที่เห็นจะแตกต่างกัน  แต่เราต้องทำให้เป็นหนึ่งเดียว
ถ้าเรามีความรู้เพิ่มขึ้น  พัฒนาและสร้างสรรค์  ก็สามารถเป็นงานที่ดีในการดูแล
สุขภาพของตัวเองทั้งหมด  ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->ดูแลร่างกายของเราอย่างดี  ให้ความสนใจ  ออกกำลังกายเป็นประจำ
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->พัฒนาสติปัญญาของเราผ่านการเรียนรู้  เราเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ  ตัวเราช่วย
กระตุ้นความคิด  หนังสือ  การกระทำ  ประสบการณ์เรียนรู้และโอกาสที่จะสนทนากับผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->คุ้นเคยกับความรู้สึกของเรา
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->พัฒนาประสาทสัมผัส  เรียนรู้การดูแล  และใช้เป็นสิ่งสำคัญในตัวเรา
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->พัฒนาการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกัน  เป็นธรรมชาติ  พัฒนาการลงรอยกัน
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->เรียนรู้อาหารที่ร่างกายต้องการ   จัดเตรียม  สำหรับร่างกายแต่ละคน
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->เตรียมบรรจุลงในชีวิต  งานที่พบเห็น  ได้ฟัง  อุณหภูมิ  แสง  สี  คุณภาพ 
อากาศและที่ว่างที่จะส่งเสริมชีวิตให้เต็ม
<!--[if !supportLists]-->8        <!--[endif]--> รับรู้ความหมายการมีชีวิต  แสดงให้เห็นความเต็มและรู้พลังชีวิต

<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->ภูเขาน้ำแข็งของซะเทีย  (The  personal  lceberg  of  the  Satir  Model)
บุคคลเปรียบเสมือนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ  ส่วนที่โผล่พ้นน้ำให้เราเห็นเป็นเพียง  1 
ใน  10  ส่วนของทั้งหมด  คือ  พฤติกรรมที่แสดงออกให้เราเห็นได้  ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำมีถึง 9  ใน 10  ส่วนที่เราไม่สามารถมองเห็นได้แก่  ความรู้สึก  (Feeling)  การรับรู้  (Perception) ความคาดหวัง  (Expectation)  ความปรารถนา  (Yearning)  ตัวตน  (Self)


<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->การเจริญเติบโตและพัฒนาการของแต่ละบุคคล  (Individual  Growth  and 
Development)
ซะเทียเชื่อว่า  ทุกคนพยายามอย่างที่สุด  (Strive)  เพื่อการเจริญเติบโต  (Growth)  
และเพื่อการพัฒนา  (Development)  ซึ่งแต่ละคนจะได้มาจากพันธุกรรมและการอบรมเลี้ยงดู  องค์ประกอบ  (Factors)  ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของบุคคล  (Human Development) ได้แก่
สิ่งที่ได้มาจากพันธุกรรม  (Genetic  Endowment)  จะเป็นตัวกำหนดความสามารถทางด้านร่างกาย  (Physical  Potential)  ความต้องการทางด้านอารมณ์  (Emotional  Potential)  และภาวะทางด้านจิตใจที่เปลี่ยนง่าย  ขี้โมโห  หุนหันพลันแล่น  (Temperamental  Potential) ผลของการเรียนรู้  (Longitudinal Influences) เป็นความรู้ที่ได้เรียนมาในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต  โดยสะสมมาตั้งแต่เกิด  (Since  Birth)  ซะเทียให้ความสำคัญประสบการณ์ที่ลูกได้รับจากพ่อแม่  (primary  survival  triad : พ่อ  แม่ ลูก)  จะส่งผลต่อลูก  หรือมีความสำคัญต่อความเป็นตัวของตัวเอง  (Self – identity)  ความมีคุณค่า  ความภาคภูมิใจในตนเอง  (Self – worth  or  Self - esteem)  ซึ่งปฏิสัมพันธ์  (Interaction)  ระหว่างพ่อ  แม่ ลูก  (The  Primary  Triad)  จะมีทั้งที่สร้างสรรค์  (Constructive)  หรือทำลาย  (Destructive)
ซะเทียเชื่อว่า ความมีคุณค่าในตนเองสูง  (Positive  Self – worth)  เป็นรากฐานที่
สำคัญที่ทำให้บุคคลมีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตของครอบครัวดี  (Individual  and  Family  mental  health) จาก  The  Primary  Triad  (พ่อ  แม่ ลูก)  เด็กจะเรียนรู้จากคำพูด  (words)  โทนของเสียงพูด  (tone)  การสัมผัส  (touch)  และการมอง  (looks)  จากพ่อแม่  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมรูปแบบของการสื่อสารเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต  (Future Adult  Communication  Patterms)การปฏิสัมพันธ์ที่มั่นคงของร่างกาย จิตใจ  (the  constant  mind – body interaction)  การเจริญเติบโตของบุคคลมีองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ  จิตใจ  ร่างกาย  ความรู้สึก  ปกติแต่ละส่วนจะมีผลดี  หรือผลเสียต่อตัวเจ้าของเอง  บางอย่างก็ชอบ  บางอย่างก็ไม่ชอบ  บางอย่างก็ต้องระมัดระวัง  การบำบัดรักษาของซะเทีย  เรียกว่า  บางส่วนของหมู่คณะ  (parts  party)  ผู้รับคำปรึกษาได้รับการส่งเสริมให้รู้ในส่วนเหล่านั้นและเรียนรู้ที่จะใช้  อย่างกลมกลืนกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->บทบาทของครอบครัวและรูปแบบการสื่อสาร  (Family  Roles  and 
communication  Styles)
      ซะเทียได้พยายามอธิบายให้เห็นว่าการสื่อสารในครอบครัวสะท้อนให้เห็น
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของสมาชิกครอบครัว
     การสื่อสารที่ไม่ดี (Dysfunction  Communication)   ไม่ตรง  (indirect)  ไม่ชัดเจน 
(unclear)  ไม่สมบูรณ์  (incomplete) ไม่กระจ่าง  (unclarified)  คลาดเคลื่อน  (inaccurate)  บิดเบือน  (distorted)  ไม่เหมาะสม  (inappropriate) จะบ่งบอกถึงคุณลักษณะที่ระบบครอบครัวที่ทำหน้าที่ได้ไม่ดี  (characterizes  a  dysfunctional  family  system)
     การสื่อสารที่ไม่เหมาะสมภายใต้การบีบคั้น  (Dysfunction  Communication Under
stress)  มี 4 ลักษณะ  ดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->            Blamer
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->            Placates
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->            Super – reasonable
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->            Irrelevant
แหล่งที่มา :เอกสารประกอบการบรรยาย:การให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
                     ดร.เพ็ญนภา  กุลนภาดล  ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์มหาวิทยาลัยบูรพา